สวัสดีค่ะ ครั้งที่แล้วได้รู้จักกับ raspberry pi model a+ ไปแล้ว ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง sensor ที่ใช้ร่วมกับ บอร์ด Arduino ซึ่ง sensor ที่จะแนะนำให้รู้จัก คือ Ultrasonic Module Distance Measuring Transducer Sensor เรียกสั้นๆ Ultrasonic sensor ก็ได้นะ ไปดูกันเลยว่ามันสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง
ภาพ Ultrasonic sensor
Ultrasonic sensor คืออะไร? Ultrasonic sensor คือ เป็นอุปกรณ์ทำงานด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยิน มีทิศทางแน่นอนและไม่มีการเลี้ยวเบน โดยอัลตราโซนิก แบ่งเป็นสองส่วน คือ Transmitter เป็นแหล่งให้กำเนิดเสียง Ultrasonic และ Receiver เป็นตัวรับคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมา ซึ่งเราสามารถใช้ sensor ตัวนี้ในการตรวจจับวัตถุและวัดระยะที่ห่างจากวัตถุได้
หลักการทำงานของ Ultrasonic sensor
การนำ Ultrasonic sensor ไปใช้งาน
- นำไปใช้ในการหลบหลีกสิ่งกีดขว้าง เช่น การให้หุ่นยนต์เดินโดยที่ไม่ชนสิ่งกีดขว้าง
- การนำมาใช้กับรถยนต์เพื่อเป็นตัวกำหนดสัญญาณเตือนว่ามีวัตถุอยุ่ในระยะใกล้(เซนเซอ ถอยหลังสำหรับรถยนต์)
- การนำใช้ในเครื่องวัดความหนาของวัตถุ โดยสังเกตระยะเวลาที่คลื่นสะท้อนกลับมา
- เครื่องวัดความลึกซึ่งมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตเนื้อสัตว์ เพื่อวัดความหนา ของชั้นไขมันในสัตว์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และในซากสัตว์ เพื่อประเมินคุณภาพซากสัตว์ใน โรงฆ่าสัตว์ประเมินความนุ่มของเนื้อสัตว์
ข้อดีของอัลตราโซนิก
สามารถตรวจจับวัตถุโดยการใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มนุษย์ ไม่ได้ยิน นอกจากนี้Ultrasonic Sensor ยังมีระยะการตรวจจับสูงสามารถตรวจจับวัตถุโดยไม่ สนใจสีหรือพื้นผิวของวัตถุ ใช้ได้กับทั้งของแข็งและของเหลว ทั้งเปียกและแห้ง สามารถตรวจ จับวัตถุที่มีไอฝุ่นได้
ข้อจำกัดของอัลตราโซนิก
อัลตราโซนิกไม่สามารถทำงานในที่แคบ ในสถานที่ที่เป็นสูญญากาศได้ เพราะคลื่น เสียงต้องเดินทางผ่านตัวกลาง ultrasonic ไม่เหมาะกับวัตถุผิวนุ่มและผิวโค้ง นอกจากนี้ควร หลีกเหลี่ยงการติดตั้ง ultrasonic ในบริเวณใกล้ๆกัน
อัลตราโซนิกไม่สามารถทำงานในที่แคบ ในสถานที่ที่เป็นสูญญากาศได้ เพราะคลื่น เสียงต้องเดินทางผ่านตัวกลาง ultrasonic ไม่เหมาะกับวัตถุผิวนุ่มและผิวโค้ง นอกจากนี้ควร หลีกเหลี่ยงการติดตั้ง ultrasonic ในบริเวณใกล้ๆกัน
ราคา
ประมาณตัวละ 100 บาท
การวิธีการต่อขาใช้งาน Ultrasonic sensor กับ Arduino
- vcc ต่อกับ 5v
- gnd ต่อกับ gnd - trig ต่อกับ 13
- echo ต่อกับ 12
อ้างอิง
http://www.arduinoall.com/article/
http://krunisit.rwb.ac.th/ultrasonic.html
http://mcu56.learninginventions.org/?page_id=240
http://krunisit.rwb.ac.th/ultrasonic.html
http://mcu56.learninginventions.org/?page_id=240
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น